การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้รองรับการเติบโตระยะยาว

2

การท่องเที่ยวไทยถือได้ว่าเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลกและการมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากมายหลายแห่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทว่าในปัจจุบันกลับต้องเผชิญกับบททดสอบที่หนักหนาสาหัส ในด้านความสามารถในการแข่งขัน อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงในสถานการณ์ต่างๆ นั่นเอง

การท่องเที่ยวที่ถูกและคุ้มค่ากว่าเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านกว่า 20% ประกอบกับความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวในไทยที่นักท่องเที่ยวเต็มใจจ่ายสำหรับค่าที่พักมากกว่าเกือบเท่าตัวเทียบกับการเที่ยวที่อื่น (Thailand premium) ทำให้การท่องเที่ยวไทยแข็งแกร่งและฟื้นตัวกลับมาได้เสมอ เราคาดว่าการท่องเที่ยวไทยในปี 2010 จะสามารถฟื้นตัวและเติบโตได้ประมาณ 8-10% และมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นประวัติการณ์ถึงราว 15 ล้านคน แต่หากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น จะทำให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาด ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและความยืดเยื้อของเหตุการณ์

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคืออนาคตของการท่องเที่ยวไทยในระยะยาว จากการวิเคราะห์เราพบว่าหากการท่องเที่ยวไทยซึ่งรวมถึงธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังทำทุกอย่างแบบเดิมๆ ต่อไปเรื่อยๆ หรือที่เราเรียกว่า business as usual นั้น คงไม่สามารถทำให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตกว่าในอดีตได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในเชิงของจำนวนนักท่องเที่ยว รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือระยะเวลาที่พักอยู่ในเมืองไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่น่าจะรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยร้อยละ 5% เช่นในอดีตที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในปี 2020

นอกจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้รองรับการเติบโตระยะยาวแล้ว ประเทศไทยควรมุ่งเน้นอาศัยประโยชน์จากกระแสและแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวต่างๆ แทนที่จะทำแบบไร้ทิศทาง ด้วยข้อได้เปรียบทางด้านแหล่งที่ตั้งที่ดี และสะดวกในการเชื่อมต่อกับภูมิภาค ทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่จะตักตวงประโยชน์จากแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ในอนาคตได้หลายอย่าง เช่น แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิกกันเองมากขึ้น รวมไปถึงแนวโน้มความต้องการการท่องเที่ยวด้านกีฬากอล์ฟ สุขภาพ และการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่เกษียณแล้ว

Posted in ท่องเที่ยว | Comments Off on การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้รองรับการเติบโตระยะยาว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบพอเพียง

ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกทำให้ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดโลกก็ต่างก็ได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน ส่งผลให้ประชากรของแต่ละประเทศทั่วโลกในหลากหลายอาชีพต้องตกงานกันทั่วถ้วนหน้า ในปัจจุบันต่างก็ยอมรับกันโดยดุษฎีว่า “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งรายได้ของแต่ละประเทศ อีกทั้งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะบรรดาประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย

แต่เมื่อเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกต้องรัดเข็มขัดในเรื่องของการใช้จ่ายมากขึ้น อีกทั้งถูกซ้ำเติมด้วยข่าวคราวของการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ จึงส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปทั่วโลก ทำให้มีอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยทางนิตยสารไทม์รายงานว่า ระหว่างปี 2548-2550 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลกอยู่ในช่วงของการเฟื่องฟูมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยถึง 3.6 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ไม่เพียงเฉพาะแต่ผลกระทบจากการท่องเที่ยวเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบไปถึงบรรดาสายการบินต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญกับการขาดรายได้อย่างหนักเนื่องจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากยกเลิกการเดินทาง และทางสายการบินเองก็ต้องลดเที่ยวบินเพื่อประหยัดต้นทุน เป็นผลให้หลายสายการบินต้องประสบกับสภาวะการขาดทุนกันทั่วถ้วนหน้า จากการศึกษาสถิติต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เราได้ทราบว่าในแต่ละประเทศต่างก็พยายามที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจกลับเข้าร่องเข้ารอยโดยพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาทิเช่น อิตาลีก็ได้โหมโฆษณาแหล่งท่องเที่ยวของตนเอง คือ โครงการ “Italia Much More” โดยจัดทำโฆษณาที่แสดงถึงภาพลักษณ์ที่สวยงามและวัฒนธรรมที่น่าสนใจของอิตาลีออกเผยแพร่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเที่ยวให้มากขึ้น

ดังนั้นจากการที่ในแต่ละประเทศต่างก็ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศในยุคเศรษฐกิจโดยรวมขาขึ้นก่ายหน้าผากเช่นนี้ ผมเองก็อยากให้รัฐบาลไทยหันกลับมาฟื้นฟู “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบพอเพียง” ของประเทศของเราเอง ซึ่งประเทศของเรานั้นก็เป็นประเทศที่มีพื้นฐานที่ดีเยี่ยมในด้านการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติที่สวยงาม ประเพณี วัฒนธรรมรวมทั้งการให้บริการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสัมผัสกับความน่าประทับใจเหล่านี้ ซึ่งในสถานการณ์คับขันเช่นนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนอาจจะต้องปรับปรุงในบางส่วน เช่น การทำตลาดผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต,พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานให้มีคุณภาพมากขึ้น,พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้แล้วผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยก็จะเป็นอัศวินขี่ม้าขาวที่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนต้องร่วมมือกันช่วยให้ประเทศผ่านวิกฤติเศรษฐกิจนี้ไปให้ได้ โดยร่วมมือร่วมใจกันฟื้นฟู “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบพอเพียง” ของเรา โดยเริ่มจากการที่คนไทยเที่ยวทั่วไทยกันเองก่อน ในสถานการณ์เช่นนี้ อย่าไปหวังพึ่งกับตลาดของต่างชาติมากนักเลยครับ เพราะพวกเขาเองก็จะเอาตัวกันไม่รอดกันทั้งนั้น

“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบพอเพียง” คือ การที่ไทยเที่ยวไทย ที่จะมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม เพราะการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมการกระจายรายได้ที่มีประสิทธิภาพถึงมือผู้คนในชุมชนนั้น

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged | Comments Off on อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบพอเพียง

การจัดการในกระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

 

สถานการณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยรวมในอนาคต เป็นการคาดหวังเป้าหมายสูงสุดหรือผลการพัฒนาที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้งระบบ เพื่อให้สามารถตอบสนองกระแสความต้องการด้านอนุรักษ์ กระแสความต้องการของตลาด และกระแสของการพัฒนาคน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว ตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย ขั้นตอน และวิธีการจัดการอย่างเป็นระบบ สามารถกำหนดผลสำเร็จของการจัดการและโครงข่ายความเชื่อมโยงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการปรับสภาพความสมดุลย์ของกระแสความต้องการของแต่ละด้าานในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการรักษาระบบนิเวศ

การจัดการในกระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถควบคุมขนาดของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เหมาะสม โดยเฉพาะองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ ทางด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ตลาดการท่องเที่ยว และองค์กรการบริหารการจัดการ ซึ่งจะมีประสิทธิผลให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถอำนวยประโยชน์ ดำรงสถานภาพ บทบาทหน้าที่ และฟื้นตัวได้ตามสภาพธรรมชาติ นักท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการอนุรักษ์ ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม และมีขีดความสามารถในการจัดการ เกิดความภูมิใจ และยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน

กล่าวโดยสรุป เป้าหมายของแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้น คือการสร้างการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน คนในท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงประกอบไปด้วย

1. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะต้องมีการควบคุมดูแลรักษา และจัดการทรัพยากรให้คงสภาพเดิมแท้ไว้ให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการท่องเที่ยวในพื้นที่อ่อนไหว ง่ายต่อการถูกกระทบ และฟื้นตัวยาก
2. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ต้องคำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ มีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม และการปรับให้เกิดความสมดุลกับรูปแบบและกิจกรรมเดิมที่มีอยู่ พึงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นๆ หากเน้นในการแปรประโยชน์จากการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การจัดการการท่องเที่ยวโดยรวม
3. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ต้องคำนึงถึงการพัฒนาด้านการให้การศึกษา สร้างจิตสำนึกที่ดีในการรักษาระบบนิเวศร่วมกัน มากกว่าการมุ่งเน้นความเจริญทางเศรษฐกิจ และการมีรายได้เพียงอย่างเดียว
4. การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้องให้ความสำคัญการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร การบริการ การแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมชุมชนในกระบวนการท่องเที่ยว รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา หรือให้ประชาชนมีตัวแทนเป็นคณะกรรมการร่วมในทุกระดับ
5. ให้ความสำคัญของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นความจำเป็นอันดับต้นในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทั้งนี้ให้องค์กรต่างๆ กำหนดบทบาทที่ชัดเจนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และกำหนดวิธีที่เหมาะสม
6. นำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เข้าสู่แผนพัฒนาระดับต่างๆ อย่างมีความสำคัญ ได้แก่ แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาภาค พร้อมทั้งให้มีการจัดสรรและกระจายงบประมาณอย่างทั่วถึงและพอเพียง
7. สนับสนุนการศึกษา วิจัย และประเมินผลการพัฒนาอย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการ การแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแผนอย่างเป็นขั้นตอน
8. มีการใช้กฎหมายในการควบคุม ดูแล รักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด โดยการแนะนำ ตักเตือน และสร้างวินัยการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย
9. จัดทำแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือการจัดการ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างถูกต้อง
10. จัดให้มีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยให้มีการประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารและการจัดการร่วมกันทุกระดับ

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged | Comments Off on การจัดการในกระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวไทยในอาเซียนและทิศทางหลังเปิด AEC

การเปิดเสรีบริการด้านการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องภายใต้กรอบอาเซียนแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่าแนวโน้มการแข่งขันในอนาคตจะยิ่งทวีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน การเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมืองไทยด้วยการถือครองสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มมากขึ้น จากคู่แข่งทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดการให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแนวโน้มมูลค่าเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนโดย หากจะพิจารณารายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ผ่านมา

จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศ ASEAN ที่ให้ความนิยมมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด คือ มาเลเซีย ลาว และ สิงค์โปร ตามลำดับ และเห็นได้ชัดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวของทุกประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในปี 2554 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ทุกประเทศ

สำหรับสถานการณ์ตลาดภายในประเทศนั้น ภาคบริการด้านการท่องเที่ยวของไทยนับว่ามีศักยภาพค่อนข้างสูง ทั้งในส่วนของความพร้อมในการให้บริการแก่ชาวต่างชาติ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งการเปิดเสรีภาคการท่องเที่ยวน่าจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อเข้ามาใช้บริการโดยเฉพาะด้านโรงแรมที่พักซึ่งเป็นเครือข่ายของบรรดานักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย อันจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามมา

ผู้ประกอบการไทยควรเร่งปรับตัวโดยใช้ประโยชน์จากการเป็นอาเซียนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด รวมทั้งการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยอาศัยจุดแข็งของภาคการท่องเที่ยวของไทยโดยเฉพาะการเป็นที่ยอมรับในด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม ความมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีของคนไทย การมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และรสชาติอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น

ระบบการชำระเงิน ที่ควรเพิ่มความสะดวกเรื่องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเงินสดมากขึ้นขณะเดียวกันควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ข้อมูลสนับสนุนการท่องเที่ยวมากขึ้น มีการพัฒนาด้านแอพพลิเคชั่น รวมทั้งเว็บไซต์ เพื่อให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกการจอง รวมทั้งใช้ช่องทางนี้ให้นักท่องเที่ยวได้แบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยว ซึ่งที่กล่าวมานั้นถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จะนำไปใช้และสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้มากยิ่งขึ้น นั่นเอง

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged , | Comments Off on การท่องเที่ยวไทยในอาเซียนและทิศทางหลังเปิด AEC

การท่องเที่ยวทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของประเทศไทย

ประเทศไทยมีศักยภาพในการสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ๆ

และควรผลักดันกิจกรรมเสริมที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นส่วนช่วยในการดึงดูดและจูงใจนักท่องเที่ยวให้มาดำน้ำที่ประเทศไทย เนื่องจากนักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่จะให้ความสนใจกับกิจกรรมอื่นๆด้วย โอกาสที่ดีอีกประการหนึ่ง คือ ประเทศไทยมีแหล่ง/จุดดำน้ำที่สามารถเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวดำน้ำได้ทั้งปี ตลอดจนมีจุดดำน้ำที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในทุกระดับประสบการณ์ ประเทศไทยมีความหลากหลายของจุดดำน้ำ และมีจำนวนของแหล่งดำน้ำมาก ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของประเทศ หากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งในสายตาของนักท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำ ประเทศไทยสามารถกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของไทยด้านการดำน้ำลึกให้เป็นประเทศที่มีความหลากหลายของจุดดำน้ำ มีอุณหภูมิของน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการดำน้ำ มีความหลากหลายของแพคเกจ/โปรแกรมในการดำน้ำ และมีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน

ประเทศไทย ถือเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาโดยเรือยอช์ท

ทั้งในกลุ่มที่เดินเข้ามายังไทยแล้วมีการเช่าเรือยอช์ทเพื่อการท่องเที่ยว และกลุ่มที่เดินทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ซึ่งไทยมีความพร้อมในการรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวมาก เนื่องจากมีท่าเรือที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยสร้างรายได้เข้าสู่ไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้มีแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม อย่างพัทยา ซึ่งมีอัตราการเติบโตของการท่องเที่ยวทางทะเลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีศูนย์กลาง คือ โอเชี่ยน มารีน่า ยอช์ท คลับ ซึ่งเป็นท่าเรือมาตรฐานระดับโลก และเป็นศูนย์กลางของการให้บริการต่างๆ

ปัจจุบันปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น การพัฒนาที่ดินตามแนวชายฝั่งทะเล การลักลอบทำประมง การขาดจิตสำนึกในการจอดเรือของผู้ประกอบการ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศไทยในเรื่องของการท่องเที่ยวดำน้ำลึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย หรือมาเลเซีย เป็นต้น ดังนั้น การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์จึงมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล สร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนาที่ดินตามแนวชายฝั่งทะเล โดยทำให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความมักง่ายหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ เนื่องจากการก่อสร้างหรือการพัฒนาที่ดินตามแนวชายฝั่งทะเลนั้น หากไม่มีมาตรการหรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้ในเรื่องของการจัดเก็บของเสียหรือการควบคุมการถ่ายเทของเสีย ก็จะสร้างความเสียหายให้กับทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged | Comments Off on การท่องเที่ยวทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของประเทศไทย

การพัฒนาและการจัดการแนวคิดใหม่ทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดผลกระทบในทางลบน้อยที่สุด แนวคิดนี้ได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆนับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา โดยได้รับความสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ และองค์การการท่องเที่ยวโลก ประเทศไทยก็ได้รับเอาแนวคิดนี้มาศึกษา และดำเนินการจนปรากฏผลเป็นรูปธรรมมากพอสมควร จากการศึกษาถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า มีทั้งผลกระทบในทางบวก และผลกระทบในทางลบ ผลกระทบในทางบวก คือ ทำให้เกิดรายได้จากการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกเหนือไปจากการส่งสินค้าออก นอกจากนี้ เงินที่นักท่องเที่ยวนำไปจับจ่ายใช้สอยย่อมกระจายไปสู่ท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ ทำให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นดีขึ้น นอก จากผลดีทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีทางด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยมีการ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนในท้องถิ่น

ส่วนผลกระทบในทางลบ คือ อาจทำให้สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเกิดความเสื่อมโทรมจากการไม่ระมัดระวังของนักท่องเที่ยว หรือจากการขาดการวางแผนที่ดี ของหน่วยงานในท้องถิ่นในด้านการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว ทำให้มีการใช้ทรัพยากรการ ท่องเที่ยวอย่างสิ้นเปลืองในระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ ชุมชนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยว ตั้งอยู่ อาจไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้รับโอกาสเข้าร่วมในการจัดการและการให้บริการ ผลประโยชน์ ส่วนใหญ่ไปตกอยู่แก่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีเงินทุนมากและอยู่นอกแหล่งชุมชนนั้นๆ ส่วนชุมชนในท้องถิ่นกลับ ต้องประสบกับปัญหาต่างๆที่นักท่องเที่ยว นำเข้ามา เช่น ปัญหาการส่งเสียงดังรบกวนของนักท่องเที่ยว ปัญหาการจราจรติดขัด  และปัญหาค่าครองชีพในท้องถิ่นสูงขึ้น  เพื่อลดผลกระทบในทางลบให้น้อยลง ได้เสนอให้มีทางเลือกใหม่ในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยอาศัยหลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ต้องเป็นการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประการที่ 2 ต้องเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากหลักการ ทั้ง 2 ประการนี้จึงเป็นที่มาของการท่องเที่ยว ในรูปแบบใหม่ นั่นคือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged | Comments Off on การพัฒนาและการจัดการแนวคิดใหม่ทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แนวคิดใหม่ของโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มบริการที่ดียิ่งขึ้น

1

แนวคิดเรื่องโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว คล้ายคลึงกับเรื่องการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวแต่ครอบคลุมกว้างกว่า โดยโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวครอบคลุมสามเรื่องใหญ่คือ การขนส่งนักท่องเที่ยวและวัตถุสิ่งของ (Physical flow) การให้และรับข้อมูลข่าวสาร (Information flow) และการรับจ่ายเงิน (Financial flow) ในขณะที่เรื่องการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวจะครอบคลุมเฉพาะเรื่องการขนส่งนักท่องเที่ยวและวัตถุสิ่งของเท่านั้น โลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวเริ่มต้นจากเรื่องการขนส่งนักท่องเที่ยว ซึ่งกรอบแนวคิดของนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับมากในยุโรปสองท่าน คือ Lumsdon and Page (2004) สามารถใช้วิเคราะห์ได้ในเรื่อง Physical flow และ Information flow เป็นหลัก ซึ่งคมสัน (2551) ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมกรอบแนวคิดนี้อีกส่วนหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ มิ่งสรรพ์ และคมสัน (2551) พยายามสร้างกรอบสำหรับการวิเคราะห์โลจิสติกส์ที่รวมเอา Financial flow รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เกื้อกูลต่อการขนส่งนักท่องเที่ยวเข้ามาไว้ด้วยอย่างบูรณาการ รายละเอียดของกรอบแนวคิดทั้งสองมีดังต่อไปนี้

สิ่งที่มีให้บริการหมายถึงประเภทของยานพาหนะที่มีให้บริการ เส้นทางที่เปิดให้บริการ ระดับชั้นของคุณภาพของบริการที่มีให้บริการ เช่น ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง รวมทั้งบริการเสริม เช่น ลิฟท์ สำหรับผู้พิการหรือผู้มีสัมภาระหนัก ตู้เก็บสัมภาระ (ล็อคเกอร์) และเครื่องมือสื่อสารในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น การเข้าถึงหมายถึงความสามารถของผู้คนที่จะสามารถใช้บริการได้ การอำนวยความสะดวกให้ผู้คนมาใช้บริการได้ เช่น เวลาและสถานที่จำหน่ายตั๋ว ที่ตั้งของสถานีรถไฟ ที่ตั้งของป้ายรถเมล์ เป็นต้น ข้อมูลข่าวสารหมายถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้โดยสารไม่เกิดความสับสนในการเดินทางและสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ รวมถึงสถานที่ที่ให้ข้อมูลข่าวสารนั้นต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารสามารถติดตามข่าวสารได้โดยง่าย ไม่ติดประกาศไว้ในที่ลึกลับเกินไป เวลาหมายถึงการจัดตารางเวลาในการเดินรถหรือการให้บริการที่เหมาะสม ไม่ทิ้งช่วงนานเกินไปจนทำให้ผู้โดยสารรอนานมากเกินไปหรือบ่อยเกินไปจนไม่มีผู้โดยสาร ความรวดเร็วในการเดินทาง รวมทั้งความสามารถในการรักษาเวลา ความตรงต่อเวลา การเอาใจใส่นักท่องเที่ยว หมายถึงความคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้โดยสาร เช่น ความสะอาดและถูกสุขลักษณะของที่นั่ง ห้องน้ำ พื้น และที่เก็บสัมภาระ การบริการอาหารและเครื่องดื่มบนยานพาหนะ การมีสถานที่แยกกันต่างหากระหว่างผู้สูบบุหรี่และไม่สูบ และการมีเจ้าหน้าที่ตรวจตราความสงบเรียบร้อยและรับเรื่องราวร้องทุกข์บนยานพาหนะ รวมทั้งการให้ส่วนลดสำหรับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ เป็นต้น

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged , | Comments Off on แนวคิดใหม่ของโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มบริการที่ดียิ่งขึ้น

แนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคตมีความสามารถในการแข่งขันแค่ไหน

การท่องเที่ยวไทยถือได้ว่าเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลกและการมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากมายหลายแห่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทว่าในปัจจุบันกลับต้องเผชิญกับบททดสอบที่หนักหนาสาหัส ในด้านความสามารถในการแข่งขัน อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงในสถานการณ์ต่างๆ

การท่องเที่ยวที่ถูกและคุ้มค่ากว่าเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านกว่า 20% ประกอบกับความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวในไทยที่นักท่องเที่ยวเต็มใจจ่ายสำหรับค่าที่พักมากกว่าเกือบเท่าตัวเทียบกับการเที่ยวที่อื่น ทำให้การท่องเที่ยวไทยแข็งแกร่งและฟื้นตัวกลับมาได้เสมอ เราคาดว่าการท่องเที่ยวไทยในปี 2010 จะสามารถฟื้นตัวและเติบโตได้ประมาณ 8-10% และมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นประวัติการณ์ถึงราว 15 ล้านคน แต่หากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น จะทำให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาด ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและความยืดเยื้อของเหตุการณ์
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคืออนาคตของการท่องเที่ยวไทยในระยะยาว จากการวิเคราะห์เราพบว่าหากการท่องเที่ยวไทยซึ่งรวมถึงธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังทำทุกอย่างแบบเดิมๆ ต่อไปเรื่อยๆ หรือที่เราเรียกว่า business as usual นั้น คงไม่สามารถทำให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตกว่าในอดีตได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในเชิงของจำนวนนักท่องเที่ยว รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือระยะเวลาที่พักอยู่ในเมืองไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่น่าจะรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยร้อยละ 5% เช่นในอดีตที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในปี 2020

นอกจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้รองรับการเติบโตระยะยาวแล้ว ประเทศไทยควรมุ่งเน้นอาศัยประโยชน์จากกระแสและแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวต่างๆ แทนที่จะทำแบบไร้ทิศทาง ด้วยข้อได้เปรียบทางด้านแหล่งที่ตั้งที่ดี และสะดวกในการเชื่อมต่อกับภูมิภาค ทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่จะตักตวงประโยชน์จากแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ในอนาคตได้หลายอย่าง เช่น แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิกกันเองมากขึ้น รวมไปถึงแนวโน้มความต้องการการท่องเที่ยวด้านกีฬากอล์ฟ สุขภาพ และการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่เกษียณแล้ว

เพื่อตักตวงประโยชน์จากแนวโน้มต่างๆ เหล่านี้ได้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในภาครัฐ กลุ่มธุรกิจ และผู้ประกอบการ โดยภาครัฐต้องหันไปมุ่งเน้นพัฒนาด้านอุปทาน ให้มากขึ้นโดยเฉพาะจัดเตรียมสาธารณูปโภคให้พร้อมเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การท่องเที่ยว เช่น การสร้างถนนและคมนาคมเชื่อมต่อถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว การยกระดับท่าอากาศยานท้องถิ่นให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ การออกกฎหมายและบทลงโทษเพื่อรักษาความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว มากกว่าการมุ่งพัฒนาด้านอุปสงค์หรือส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดแต่เพียงอย่างเดียว

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged , | Comments Off on แนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคตมีความสามารถในการแข่งขันแค่ไหน

ภาครัฐและเอกชนต้องหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจด้านการท่องเที่ยว

ประเทศไทยนับว่าเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงติดอันดับโลก

มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สวยงามและแปลกตา เนื่องจากตั้งอยู่ในทำเลที่มีทั้งมหาสมุทร ทะเล ภูเขา แม่น้ำลำคลองจำนวนมาก ป่าลักษณะต่างๆกัน เกาะแก่ง หลายชนชาติที่ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมของตนเอาไว้ได้ เมื่อประสานเข้ากับประวัติศาสตร์อันยาวนาน ศิลปะสถาปัตยกรรมหรือโบราณสถานอันเก่าแก่ และสืบทอดวัฒนธรรมความเชื่อมานับพันๆ ปี ความต่างที่หลากหลายของประเทศไทย จึงเป็นทางเลือกให้คนทั่วโลกเข้ามาเสพการท่องเที่ยวได้มาก ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยควรมุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางเลือกในเอเชีย

ปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการที่มีบทบาทสำคัญมาก

และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างมากมาย โดยเฉพาะการสร้างรายได้ ที่เป็นเงินตราต่างประเทศมีมูลค่ามิใช่น้อยให้แก่ประเทศไทย จึงทำให้วันนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ซึ่งทางภาครัฐเองก็พร้อมทุ่มงบประมาณเพื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและสร้างเครือข่ายกับการท่องเที่ยวชุมชนอย่างจริงจังที่ได้ขับเคลื่อนในเรื่องของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่องและทำให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว และมีความเข็มแข็ง เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่สนใจและกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวได้อย่างชัดเจน

ความเปลี่ยนแปลงของคนในสังคมโลก

ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม และที่สำคัญ รสนิยมการท่องเที่ยวได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไพศาลในสังคมเศรษฐกิจไทยทางด้านการบริการการท่องเที่ยว เพราะความต้องการการท่องเที่ยวลักษณะใหม่ของคนจำนวนไม่น้อยจากโลกที่มีอำนาจซื้อทางเศรษฐกิจ ทำให้การบริการการท่องเที่ยวไม่สามารถย่ำอยู่กับที่ต่อไปได้ จึงทำให้เกิดการสร้างการท่องเที่ยวทางเลือกขึ้นมา ชาวบ้านและนักธุรกิจการท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อย ที่มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ ได้เข้าไปสร้างทางเลือกของการท่องเที่ยว โดยเน้นการสร้างความเป็นท้องถิ่นขึ้นมาในแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ดังที่เราจะเห็นว่ามีการขยายตัวของการสร้างที่พักแบบโฮมสเตย์ไปในที่ต่างๆมากมาย หรือความพยายามจะสร้างจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆที่เน้นความเป็นธรรมชาติแบบชาวบ้านดั้งเดิม

รูปแบบของการท่องเที่ยวที่พยายามหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบ และส่งเสริมให้เกิดผลในทางบวกต่อสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มักมีลักษณะดังนี้คือมีนักท่องเที่ยวจำนวนน้อย การเดินทางเพียงคนเดียว การเดินทางเองโดยอิสระ หรือประกอบกิจกรรมกันในกลุ่มเล็กๆ มีการพัฒนาอย่างช้าๆอยู่ในความควบคุมและมีกฎเกณฑ์ ขณะเดียวกันก็มุ่งให้คนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรมได้รับประสบการณ์จากการเดินทางไปเยือนของนักท่องเที่ยวและยังคงรักษาค่านิยมตลอดจนการดำเนินชีวิตในสังคมของตนที่สืบทอดกันมาเอาไว้ด้วย

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged , , | Comments Off on ภาครัฐและเอกชนต้องหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจด้านการท่องเที่ยว

ทางเลือกใหม่สำหรับการท่องเที่ยว

 

เนื่องจากสภาวะการเมืองไม่สงบทำให้เศรษฐกิจมีความผันผวน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวน้อยลง ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่ากระทรวงท่องเที่ยวฯจะได้ทำการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างแต่สื่อต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงอยากจะเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ที่ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวจะได้พิจารณาเพื่อหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ได้ทำการตลาดในช่องทางที่กว้างมากขึ้นด้วย

Photographic tourism เป็นกลุ่มที่ไม่มีพิษภัยต่อการท่องเที่ยวโดยจะได้ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างหลากหลายอย่างคุ้มค่า เช่น ทะเล ภูเขา น้ำตก การท่องเที่ยวแบบนี้ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถในการแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพได้ดี มีอุปกรณ์ที่จำเป็นให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่เป็นตากล้องสมัครเล่น ซึ่งในต่างประเทศก็นิยมการท่องเที่ยวแบบนี้ จะมีการจัดกลุ่มไปถ่ายรูปชีวิตสัตว์ป่า ถ่ายรูปทะเล ถ่ายรูปวิว

Volunteer tourism เป็นการท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายซึ่งเป็นโครงการอาสาสมัครอย่างเช่น การทำความดีโดยการสร้างโรงเรียน การนำหนังสือไปบริจาคให้กับเด็กที่ด้อยโอกาส การสอนหนังสือ ปลูกป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร

Tourism for Mental Heath เป็นกลุ่มลูกค้าที่มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีรายได้สูงและกำลังซื้อสูง เนื่องจากสภาวะความเครียดจากการทำงาน การแข่งขันในสังคมทำให้คนเหล่านี้มีความป่วยไข้ทั้งทางกายและทางจิตใจ ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการรับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ที่จะมาหาความสงบทางจิตใจ โดยการถือศีล ฟังธรรม นั่งสมาธิ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อบำบัดความเครียด สร้างสมดุลในจิตใจ สร้างพลังใจให้แข็งแรง เป็นต้น

การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบที่กล่าวมานี้ ถือเป็นการสร้างเศรษฐกิจการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีซึ่งจะทำให้การท่องเที่ยวมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจที่ขยายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวสนใจที่จะเข้ามาเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นซึ่งจะสามารถขยายโอกาสทางการธุรกิจการตลาดออกไปได้อย่างกว้างขวางขึ้นอีกด้วย

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged | Comments Off on ทางเลือกใหม่สำหรับการท่องเที่ยว

การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ และมีมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการที่สุด

รัฐบาลทุกประเทศและมนุษย์ทุกคนควรส่งเสริมสนับสนุน เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่ทำให้มนุษย์มีทัศนคติกว้างไกล ผ่อนคลายความเครียด เกิดความสนุกสนาน เป็นการพักผ่อน อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจอันดีและสัมพันธภาพระหว่างมนุษยชาติ มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชนในชาติและนานาชาติ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาประเทศต่างๆทั่วโลกมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รายได้ของประชากรดีขึ้น จึงมีเงินออมเหลือเพื่อการจับจ่ายใช้สอยหาความสุขทางด้านอื่นๆได้ การคมนาคมสะดวกทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ จึงทำให้ประชากรที่ว่างจากธุรกิจการงานหาโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆตามที่ต้องการ

การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีศักยภาพในการทำรายได้ให้กับประเทศไทยสูง ดังนั้น นโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัย และการให้บริการระดับสากล โดยการเน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุก ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วโลก รวมทั้งการกำหนดแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการ ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ในปัจจุบันการท่องเที่ยวก็วิวัฒนาการเข้าสู่ยุคแห่งโลกาภิวัตน์และสารสนเทศชั้นสูง ถึงวันนี้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารและการคมนาคมขนส่งต่างๆได้ด้วยตนเองโดยผ่านช่องทางสื่อสารที่เรียกกันว่า อินเตอร์เน็ต ที่นับวันยิ่งครอบคลุมกว้างขวางยิ่งขึ้นในทุกกรณี ดังนั้นการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างๆที่อาจจะเกินเลยความจริงไปบ้างตามชั้นเชิงฝีมือและนโยบายทางการค้า จึงต้องลดความสำคัญลงไป แต่การพัฒนาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆกลับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นภาครัฐจึงจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวขึ้นเพื่อจะมีอำนาจในการจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจัง

การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวของประเทศไทย

เพื่อมุ่งไปสู่รูปแบบของการจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์นั้น ภารกิจการท่องเที่ยว สร้างสรรค์ขององค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในเบื้องต้นจะเป็นการนำเสนอแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์แก่ชุมชนเกิดเป็นต้นแบบของแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาท่องเที่ยวเพื่อหารูปแบบของการจัดการการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวสร้างสรรค์พร้อมกับประเมินผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่ผู้มีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนจะได้รับทั้งที่สามารถจับต้องได้ และใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์

การท่องเที่ยวสร้างสรรค์นับได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่เมื่อ อ้างอิงจากความหมายของการท่องเที่ยวในรูปแบบที่มีมาก่อน แต่เดิมการท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อเป็นการใช้เวลาในการพักผ่อนหย่อนใจ แสวงหาความสุขและความเพลิดเพลินที่ได้รับจากการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ แม้ต่อมาการท่องเที่ยวได้เพิ่มรูปแบบให้มีการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์หรือเชิงวัฒนธรรม โดยจะเน้นรูปแบบของการท่องเที่ยวไปยังพิพิธภัณฑ์หรือโบราณสถานต่างๆ แต่ก็ยังไม่มีมิติของการพัฒนาและสร้างความสมดุลในชุมชนโดยการใช้การท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged , , | Comments Off on การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ และมีมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

คิดใหม่ พูดใหม่ ทำใหม่ เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยว

เมืองไทยมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่มากมาย ทั้งโบราณสถาน ดินแดนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีชุมชนและศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีรูปแบบวิธีเที่ยวที่หลากหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้แก่นักท่องเที่ยวที่ก้าวเข้าไปสัมผัสความงดงามของแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณีไทยที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของแผ่นดิน

ประเทศไทยนั้นเคยถูกจัดอันดับให้เป็นดินแดนที่มีภาพลักษณ์ดีเป็นอันดับที่ 26 ของโลกมาจากการสำรวจความคิดเห็นของการสุ่มกลุ่มตัวอย่างในหลายๆประเทศเกี่ยวกับมุมมองที่พวกเขามีต่อประเทศต่างๆทั้งในมุมมองด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การทำธุรกิจร่วมกัน คุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศนั้นๆ สามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ และยังได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนในต่างประเทศ ที่ยังคงต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าต่อไป แม้ธุรกิจของต่างชาติจำนวนมากจะได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2011 ก็ตาม และเมืองไทยยังเป็นเมืองพุทธที่คนไทยให้ความสำคัญและสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีขนบธรรมเนียมประเพณี มีเอกลักษณ์ความเป็นวัฒนธรรมไทยที่งดงาม การต้อนรับแบบไทย และน้ำใจของคนไทย โดยเฉพาะการไหว้ที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะเป็นปัจจัยที่สะท้อนความเป็นไทย สร้างความประทับใจอย่างมากให้กับนักท่องเที่ยว และการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีความอ่อนช้อยงดงาม ทำให้เป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

แต่น่าเสียดายที่เรายังคงมีจุดอ่อนในด้านการเมืองเข้ามาทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงไปไม่น้อย เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เหตุนี้เราจึงควรช่วยกันแก้ไขประเทศของเราให้มีภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น ด้วยวิธี คิดใหม่ พูดใหม่ ทำใหม่ ช่วยกันปรับปรุงพัฒนาประเทศ ให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันในด้านเจ้าของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเองจะต้องรักษาประเพณีของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ เพราะเป็นปัจจัยที่สะท้อนความเป็นไทย และสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ

Posted in ท่องเที่ยว | Comments Off on คิดใหม่ พูดใหม่ ทำใหม่ เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยว

ท่องเที่ยวไปด้วยกันกับทริปต่างแดนในประเทศเกาหลีที่น่าชมและสวยงาม

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวในเอเชียเป็นอย่างมากกับประเทศเกาหลีที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุคนมาเที่ยวชมตัวเมืองที่สวยงามไม่ว่าจะเป็น เกาะนามิ, เมืองปูซาน, เกาะเชจู และสถานที่อื่นๆอีกมากมายที่มีความสวยงามของธรรมชาติอย่างชัดเจน ซึ่งแน่นอนว่านักท่องเที่ยวหลายคนก็น่าจะรต้องรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้ของเกาหลีที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และยังมีปราสาทที่เป็นศิลปะอันเก่าแกของเกาหลีที่นักท่องเทีม่ยวทุกคนนิยมที่จะมาถ่ายรูปความสวยงามกลับไปเป็นที่ระลึกอีกมากมายหลายแห่ง หรือจะไปเที่ยวและชิมอาหารอันขึ้นชื่อของเกาหลีก็มีความสนุกสนานไม่แพ้กัน และที่สำคัญสำหรับขาช็อปก็อย่าพลาดที่จะไปเลือกซื้อเสื้อผ้าและเครื่องประดับ รวมถึงเครื่องสำอางค์ต่างๆที่ได้รับความนิยมเป้นอย่างมากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในเวลานี้

เกาะเชจู ประเทศเกาหลี

เกาะเชจู นับว่าหนึ่งในสถานที่สวยงามที่ติด 10 อันดับของโลก เพราะนอกจากธรรมชาติที่นักเดินทางสามารถสัมผัสได้รอบๆของตัวเกาะแล้วยังมีความอุดมสมบูรณ์ในท้องทะเลเป็นอย่างมากอีกด้วย โดยหากใครที่ได้ไปเที่ยวแล้วจะต้องบอกได้คำเดียวเลยว่าไม่อยากที่จะออกจากเกาะเชจูอีกเลย ซึ่งหนึ่งในอาหารที่ขึ้นชื่อบนเทกาะเชจูนั้นก็คือเปาฮื้อที่เป็นเหมือนเครื่องหมายการค้าของเกาะดังกล่าว เพราะรอบๆเกาะจะมีการจับเป๋าฮื้อกันเป็นอาชีพของชาวประมงในแถบนั้นทั้งหมดกันเลยทีเดียว

Posted in ท่องเที่ยว | Tagged , | Comments Off on ท่องเที่ยวไปด้วยกันกับทริปต่างแดนในประเทศเกาหลีที่น่าชมและสวยงาม